1ระบบฐานข้อมูล คือ
ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ
(Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ระบบฐานข้อมูลประกอบส่วนประกอบหลัก4
ส่วนได้แก่
1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
-
เบ็ดเสร็จ (Integrate)
ฐานข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์
เพื่อลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้ม
-
ใช้ร่วมกันได้ (Share)
ข้อมูลแต่ละชิ้นในฐานข้อมูลสามารถนำมาแบ่งใช้กันได้ระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ ในระบบ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ประกอบด้วย อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก ,
I/O device , Device controller , I/O channels , หน่วยประมวลผล และหน่วยความจำหลัก
3. ซอฟต์แวร์
(Sorftware)
ตัวกลางเชื่อมระหว่างฐานข้อมูลและผู้ใช้คือ DBMS
เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังมี Utility , Application
Develoment tool , Desisn aids , Report writers , ect.
4. ผู้ใช้ (Users)
มี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
-
Application Programmer
เขียนโปรแกรมประยุกต์
-
End Users ผู้ใช้ที่อยู่กับ Online
terminal เข้าถึงข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ หรือผ่านภาษาเรียกค้น (Query
Language)
-
Data Addministrator & Database
Administrator
DA ผู้บริหารอาวุโส
เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลใดในฐานข้อมูลก่อน
และกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
DBA ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ
เป็นผู้สร้างฐานข้อมูลและนำมาใช้งานจริง
โดยควบคุมทางด้านเทคนิคที่จำเป็นในการดำเนินนโยบายที่กำหนดโดย DA
2
ความหมายของระบบฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง
กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น
ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น
ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล
ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน
ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง
ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ
ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา
หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้
รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ
ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้
และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน
เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
3 ฐานข้อมูล หมายถึง
แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน
รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data
dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล
และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified)
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง
(sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว
ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล หมายถึง
ระบบการรวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกัน
โดยขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออก แล้วเก็บข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง
เพื่อการใช้งานร่วมกันในองค์กร
ภายในระบบต้องมีส่วนที่เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูล (database)
และจะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านั้น
มีการกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานแต่ละคนให้แตกต่างกัน
ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น
ระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มดังตัวอย่างในรูป
แฟ้มข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการจัดระบบแฟ้มไว้อย่างดี กล่าวคือ
ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดียวกันต้องไม่มีการซ้ำซ้อนกัน
แต่ระหว่างแฟ้มข้อมูลอาจมีการซ้ำซ้อนกันได้บ้าง
และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล และค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถ
เพิ่มเติม หรือลบออกได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลอื่นเสียหาย